ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สถานการณ์น้ำมันของประเทศไทย

สำรวจพบบ่อน้ำมัน กลางทุ่งกุลาร้องไห้

สุรินทร์ - สำรวจพบบ่อน้ำมัน 4 จังหวัดภาคอีสาน สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม และ ร้อยเอ็ด กลางทุ่งกุลาร้องไห้ เขต อ.ชุมพลบุรี ขณะที่บริษัทสัมปทานเร่งทำประชาคมคาด 3 เดือนรู้ผล แนวโน้มมีทั้งชาวบ้านที่เห็นด้วย กับที่ไม่เห็นด้วยกับ การขุดเจาะน้ำมันหวั่น กระทบดินแดนปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดของโลก
เมื่อวันที่ 12 ม.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่บริเวณพื้นที่บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 15 ตำบลชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ในแปลงสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งเป็นที่แปลงนา กินพื้นที่ กว่า 10 ไร่ ในเขต เทศบาลชุมพลบุรีเทศบาลชุมพลบุรี และตำบลศรณรงค์  มีหลักธงสีขาว ติดป้ายบริษัท ซ่านซี  เหยียนฉาง  ปิโตรเลี่ยม 1905(กรุ๊ป) จำกัด เป็นผู้สำรวจ ได้ดำเนินการสำรวจ 1905  (กรุ๊ป) มาตั้งแต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา และคาดว่าพื้นที่ ดังกล่าวจะมีน้ำมัน อย่างแน่นอนแล้ว ซึ่งทางบริษัท ทอพ-คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัดจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  จะทำการศึกษาในรัศมี 5 กิโลเมตร ต่อ หลุม
นายชุมพล สมงาม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโคกกลาง เทศบาลตำบลชุมพลบุรี เผย ว่า ทางบริษัท ซ่านซี  เหยียนฉาง  ปิโตรเลี่ยม  1905 (กรุ๊ป) จำกัด  ได้มาทำการสำรวจพื้นที่ การขุดเจาะน้ำมัน โดยได้ระเบิดในพื้นที่แปลงนาเพื่อตรวจศึกษาวิเคราะห์ พื้นที่ ที่คาดว่าจะมีน้ำมัน และตั้งแท่นขุดเจาะ น้ำมัน และได้วัดระยะ พื้นที่รอบๆ ที่เจาะน้ำมันออก ไป รัศมี 5 กิโลเมตร กินที่พื้นที่ ถึง10 กม.ความยาว  กว่า 2  กิโลเมตร ซึ่งชาวบ้านส่วนหนึ่งก็ตื่นเต้นจะมีบ่อน้ำมัน ในพื้นที่ จะทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น ขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งก็ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้เกิดมลภาวะเกิดขึ้นในพื้นที่  ขณะนี้ก็กำลังทำประชาพิจารณ์กัน และทำประชาคมอยู่ว่าประชาชนในพื้นที่ 3 ตำบล จะเห็นด้วย หรือไม่  แต่อย่างก็ตาม ประชาชนเป็นห่วงผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีการตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน  และเมื่อวันที่ 9 ม.ค.55  ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของบริษัท ซ่านซี  เหยียนฉาง  ปิโตรเลี่ยม  (กรุ๊ป) จำกัด  กว่า 10 คน  ก็ได้เดินทางเข้ามายังแปลง ที่ทำการสำรวจขุดเจาะน้ำมันที่บ้านโคกกลาง คาดว่าเป็นการวางแผนเพื่อตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน ในเร็วๆนี้
ด้านนางมยุรา บุญสด กรรมการชุมชนบ้านโคกกลาง กล่าวว่า ขณะนี้มีการทำประชาพิจารณ์ กับประชาชนทั้งสามตำบล  ท่าที่ฟัง  ขณะนี้ประชาชนยังกังกลเรื่องมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาโดยเฉพาะพื้นที่ ทุ่งกุถลาร้องไห้ อ.ชุมพลบุรี  เป็นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของโลก  ที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ให้ประชาชนผู้ปลุกข้าวหอมมะลิในแต่ละปีเป็นอย่างมาก  หากมีการขุดเจาะน้ำมัน หวั่นว่า นาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ชุมพลบุรี จะหายไป แหล่งข่าวระบุว่า พื้นที่แปลงสำรวจน้ำมัน ที่บ้านโคกกลาง เทศบาลตำบลชุมพลบุรี คาดว่าจะมีน้ำมันอย่างแน่นอน ซึ่งมีประชาชนบางคนได้เตรียมที่ดินให้บริษัท สำรวจน้ำมันในราคาไร่ละ 3 แสนบาท ในขณะที่บางรายต้องการขายไร่ละ 1 ล้านบาท  และก็มีเสียงชาวบ้านส่วนหนึ่งระบุว่า ชาวบ้านในพื้นที่จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะบริษัท ขุดเจาะน้ำมันที่ได้ก็จะดูดขึ้นไป กลั่นที่โรงกลั่นน้ำมันที่ จ.ระยอง  ประชาชนในพื้นที่จะเดือดร้อนเพราะมลภาวะ ที่เกิดขึ้น  ซึ่งยังต้องทำประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นของประชาชนทุกฝ่าย จนกว่าจะได้ข้อสรุปการดำเนินการดังกล่าว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดดำเนินโครงการเจาะหลุมปิโตรเลี่ยม แปลงสำรวจบนบก หมายเลข L 31/50 ซึ่งมีบริษัท ซ่านซี  เหยียนฉาง ปิโตรเลี่ยม  (กรุ๊ป) จำกัด  เป็นผู้รับสัมปทานและมีแผนดำเนินการเจาะสำรวจปิโตรเลียมโดยได้มอบหมายให้ บริษัท ทอพ - คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด  เป็นผู้ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สำหรับแปลงสำรวจบนบก หมายเลข L 31/50  จะครอบคลุมพื้นที่ จ.มหาสาคาม,ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์ และ สุรินทร์  มีพื้นที่ รวม 3,960 ตารางกิโลเมตร  โดยจะทำการเจาะสำรวจ 3 หลุมเจาะ  ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านหนองไทร  ต.หนองขมาร  อ. เมือง  จ. บุรีรัมย์   หมู่ที่ 15 บ้านโคกกลาง   ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี  จ.สุรินทร์  และหมู่ที่ 4 บ้านหนองสรวง  ต.สระบัว อ.แคนดง  จ.บุรีรัมย์   ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  จะทำการศึกษาในรัศมี 5 กิโลเมตร ต่อ หลุม  โดยหลุมในพื้นที่ หมู่ที่ 15 บ้านโคกกลาง  ตำบลชุมพลบุรี จะทำการศึกษาผลกระทบครอบคลุมพื้นที่ เทศบาลชุมพลบุรี  เทศบาลทุ่งศรีชุมพล  และตำบลศรีณรงค์  อ.ชุมพลบุรี  จ.สุรินทร์  ซึ่งบริษัท ทอพ - คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัดจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 - มกราคม 2555 โดยทำการศึกษารวม  4 ด้าน คือด้านทรัพยากรทางภายภาพ   ทรัพยากรทางชีวภาพ  คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์  และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต  ในการศึกษานั้นจะดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ศึกษารัศมี 5 กิโลเมตรรอบพื้นที่ฐานเจาะ ทั้งการประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัด  ระดับอำเภอ  ระดับตำบล  ระดับหมู่บ้าน  ระดับชุมชน และระดับครัวเรือน ภายหลังศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วคาดว่าจะสามารถดำเนินการขุดเจาะ สำรวจปิโตรเลียมได้ในปี  2555  หลังจากได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมแล้ว โดยจะทำการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมใต้ผิวดินลึกประมาณ 4,000 เมตร
ด้าน น.ส.วรางคณา ประภาติกุล นักวิชาการ บริษัททอพ-คลาสคอนซัลแทนท์ จำกัด เปิดเผยว่า “บริษัท ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป) จำกัด มีชื่อย่อว่า “Yanchang Petroleum Group” ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐบาลมณฑลซ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นผู้ประกอบการสำรวจน้ำมันและก๊าซที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 4 ของจีน ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมบนบกแปลงที่ L31/50         ทางบริษัท Yanchang ได้มอบหมายให้ บริษัท ทอพ- คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม เป็นผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หลุมเจาะสำรวจทั้งหมด 3 หลุม คือ YPT1, YPT2 และ YPT3 จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์ รายละเอียด ดังนี้1.       YPT1 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 บ้านหนองไทร ต.หนองขมาร อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์  2.   YPT 2  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 15 บ้านโคกกลาง ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ 3.       YPT3 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านหนองสรวง ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  จึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ขึ้น เมื่อ ระหว่างวันที่ 22-23 ธ.ค.54  ซึ่งจัดทั้งหมด 3 เวที ดังนี้เวทีที่ 1   ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอคูเมือง อ. คูเมือง จ. บุรีรัมย์ วันที่ 22 ธ.ค. 54 เวลา 09.00 - 12.00 น.เวทีที่ 2   ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแคนดง อ.แคนดง จ. บุรีรัมย์ วันที่ 22 ธ.ค. 54  เวลา 13.00 - 16.00 น.เวทีที่ 3 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ. ชุมพลบุรี วันที่ 22 ธ.ค. 54  เวลา 09.00-12.00 ผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ได้แก่ ตัวแทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, ตัวแทนจาก บจก. ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป), ตัวแทนจาก บ. ทอพ-คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด โดยเชิญ หน่วยงานราชการ ประชาชนที่สนใจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสื่อมวลชน เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วย จากนั้นจะได้นำข้อซักถาม ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจัดทำมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงให้น้อยที่สุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาเเล้วครับเพลงสรรเสริญพระบารมี กึกก้องท้องสนามหลวง(ของสำนักข่าวไทย)

ปากเพรียว "อุบลวรรณ" เรียบเรียงเสียงประสาน พ.ต สุรพล สุทธิสุข Offici...

Moto - Incidenti